เคยสงสัยไหมว่า เฉาก๊วย (Grass Jelly) เมนูขนมหวานที่ทานกันอยู่ มีต้นกำเนิดจากที่ไหน ? เฉาก๊วย ทําจากอะไร ? มีกรรมวิธีอย่างไร ถึงทำให้เฉาก๊วยมีเนื้อนุ่มเหนียว และเป็นสีดำได้ ? อยากรู้ตามมาดูกัน
อากาศตอนเที่ยงแบบนี้ ถ้าได้ทานขนมหวานเย็น ก็คงจะดีไม่น้อย และเมนูอันดับต้น ๆ ที่นึกถึงคงหนีไม่พ้นเฉาก๊วย มีทั้งแบบถุงสำเร็จรูป เอามาฉีกใส่น้ำแข็ง ตามด้วยน้ำตาลทรายแดง หรือจะเอามาใส่นมสดก็อร่อยไปอีกแบบ หรือซื้อแบบตักสด ที่สามารถเลือกใส่ท็อปปิ้งอย่างลูกชิด ทับทิมกรอบ แปะก๊วย วุ้นมะพร้าว หรืออื่น ๆ ตามชอบ ไม่ว่าจะทานแบบไหน ก็อร่อยทั้งนั้นแหละเนอะ วันนี้ WBET69 จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับประวัติเฉาก๊วยให้มากขึ้นกว่าเดิม สืบให้รู้ถึงแหล่งกำเนิด และวิธีทำก่อนจะเป็นเฉาก๊วยเนื้อเหนียวสีดำ แสนอร่อยที่เราหม่ำเข้าปากกัน apratmenttoyou
ประวัติศาสตร์เฉาก๊วยในประเทศไทย
เฉาก๊วย (Grass Jelly) ขนมหวานสีดำเป็นที่รู้จักของคนไทยมากกว่า 100 ปีแล้ว แรกเริ่มเดิมทีมาจากคนจีน ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแล้วได้เอาเฉาก๊วยเข้ามาขายด้วย เริ่มแรกขายเป็นเฉาก๊วยนิ่ม แบบดั้งเดิมจากประเทศจีน โดยจะขายคู่กับเต้าฮวย และเนื่องจากเมืองไทย มีอากาศร้อนจัด ไม่นานเฉาก๊วยจึงเป็นที่นิยม และเริ่มขยายวงกว้างเป็นที่รู้จักของคนไทย
เฉาก๊วย ทำมาจากอะไร ?
แล้วก็มาถึงคำถามที่คนอยากรู้กันมากที่สุดว่า เฉาก๊วย ทําจากอะไร ? คำตอบก็คือ เฉาก๊วย คือ ขนมที่มาจากหญ้า ในภาษาจีนคำว่า “เฉา” แปลว่า หญ้า ส่วนคำว่า “ก๊วย” แปลว่า ขนม ในภาษาอังกฤษก็คือ Grass Jelly นั่นเอง ซึ่งหญ้าที่นำมาทำเฉาก๊วยคือ พืชชนิดหนึ่งในตระกูลเดียวกับใบมิ้นต์ คนไทยจะเรียกว่า ” หญ้าเฉาก๊วย ”” (Mesona Chinensis)
สมัยก่อนไทยต้องสั่งต้นเฉาก๊วยแห้ง จากเมืองจีนเพื่อมาทำเฉาก๊วย แต่ทุกวันนี้ได้มีการนำพันธุ์เฉาก๊วย มาปลูกในเมืองไทยแล้ว แต่ก็มีบางโรงงานที่รับต้นเฉาก๊วยตากแห้ง มาจากประเทศจีน เวียดนาม หรืออินโดนีเซียแล้วนำมาขายอีกที นั่นก็แปลว่า เฉาก๊วยทำมาจากต้นเฉาก๊วย ที่มีต้นกำเนิดจากเมืองจีนนั่นเอง
ขั้นตอนการทำเฉาก๊วย
ส่วนขั้นตอนการทำเฉาก๊วย ไม่ได้มีกรรมวิธีสลับซับซ้อนอะไรเลยค่ะ เพียงแค่นำหญ้าเฉาก๊วยแห้ง มาต้มกับน้ำเปล่าจนเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำออกมา ก็จะได้น้ำที่เป็นสีดำ แต่พ่อค้าแม่ค้าบางรายต้องการให้สีดูดำปี๋มากขึ้น ก็จะใส่สีผสมอาหารลงไปด้วย จากนั้นใส่แป้งมันสำปะหลังลงไปในน้ำเฉาก๊วยเพื่อช่วยให้เฉาก๊วยแข็งตัวเป็นก้อนมากขึ้น ทิ้งไว้จนเย็นก็จะมีลักษณะเป็นวุ้น เท่านี้ก็เรียบร้อย ที่เหลือก็แล้วแต่สไตล์ การทานของแต่ละคนว่าจะนำไปกินกับอะไร
ประโยชน์ของเฉาก๊วย
เฉาก๊วยนอกจากเอามากินคลายร้อน แล้วยังมีประโยชน์ในด้านสมุนไพรคือ ช่วยแก้ร้อนใน แก้หวัด ลดความดันโลหิต ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการตับอักเสบ ลดอาการไขข้ออักเสบ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือหากดื่มน้ำเฉาก๊วยเป็นประจำจะช่วยลดอาการโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้ด้วยนะคะ แต่ข้อควรระวังก็คือ น้ำตาลที่ใส่ผสมลงไปต้องไม่มากเกินไปด้วยนะคะ เพราะแทนที่จะได้ประโยชน์ กลับได้ผลเสียกลับมาแทนนะคะ
เมื่อได้คลายข้อสงสัย ถึงต้นกำเนิดของเฉาก๊วย และได้ทราบว่าเฉาก๊วยคือ พืชชนิดหนึ่ง ตลอดจนถึงกรรมวิธีการทำเฉาก๊วยแล้ว ใครที่อยากทำเฉาก๊วยสูตรจาก คุณเนินน้ำ ทานเองในครอบครัว เตรียมจดสูตรได้เลยจ้า แอบกระซิบว่าสูตรนี้ไม่ต้องหาต้นเฉาก๊วย มาทำให้ยุ่งยากด้วยนะ
เฉาก๊วยทําจากอะไร เรื่องใกล้ตัวที่คนรัก ของดำห้ามพลาด
ส่วนผสม เฉาก๊วย
เฉาก๊วยสำเร็จรูป 1 ซอง
น้ำเปล่า 1 ลิตร
น้ำตาลทองธรรมชาติ
น้ำเปล่า (สำหรับทำน้ำเชื่อม)
น้ำแข็ง สำหรับเสิร์ฟ
วิธีทำ เฉาก๊วย
1. เทผงเฉาก๊วยใส่ลงอ่างผสม เติมน้ำ 250 มิลลิลิตรลงไป คนผสมให้เข้ากันดี เตรียมไว้
2. ใส่น้ำที่เหลือ (750 มิลลิลิตร) ลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด พอน้ำเดือดแล้วปรับเป็นไฟอ่อน แล้วเทส่วนผสมเฉาก๊วยลงไปกวนผสมให้เข้ากันจนข้นและเนียน
3. ปิดไฟแล้วเทใส่พิมพ์ พักไว้ให้เย็นและเฉาก๊วยเซตตัว (สามารถเลือกพิมพ์แบบไหน ก็ได้ตามชอบหรือตามที่มี เราใส่พิมพ์เค้ก และพิมพ์ลายการ์ตูนกะว่าจะให้น่ารัก แต่… ตอนแกะออกจากพิมพ์ปรากฏว่า ไม่เห็นความน่ารัก ออกแนวน่ากลัวตัวประหลาด)
4. ทำน้ำเชื่อมโดยใส่น้ำตาลลงในหม้อตามด้วยน้ำเปล่า (อัตราส่วนหวานมาก-น้อยตามชอบเลยค่ะ) นำขึ้นตั้งไฟเคี่ยวจนเดือด ปิดไฟ เตรียมไว้
5. ตักเฉาก๊วยใส่ถ้วย ตามด้วยน้ำเชื่อม เติมน้ำแข็ง พร้อมเสิร์ฟ อาจจะเพิ่มลูกชิด ขนุน ลูกตาล ข้าวโพด ฯลฯ หรือจะหั่นซอยเป็นเส้นเล็ก ๆ ใส่แก้ว ใช้หลอดดูดก็ไม่เลวนะคะ ส่วนตัวแล้ว เราว่าหั่นชิ้นสี่เหลี่ยมธรรมดา ๆ ใส่น้ำเชื่อม เติมน้ำแข็งแบบนี้ล่ะเวิร์คสุดแล้ว
ใส่ความเห็น