Welcome, a professional theme perfect for contemporary property showcase

(+099)-123-45678

อยากนอน แต่นอนไม่หลับ อาจเสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับ

อยากนอน แต่นอนไม่หลับ โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร นอนไม่หลับ ทำไงดี? โดยปกติ มนุษย์จะมีชั่วโมงการนอนที่แตกต่างกันตามช่วงอายุ apratmenttoyou โดยจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมในการนอนหลับสำหรับวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสมากพอสำหรับการนอน แต่หลายคนกลับมีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่ค่อยหลับ

ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ อาการดังกล่าวนี้อาจเข้าข่าย ‘โรคนอนไม่หลับ’ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้คนทุกเพศ ทุกวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงและผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านร่างกายหรือจิตใจ ผู้ป่วยควรหาวิธีนอนให้หลับด้วยการปรับพฤติกรรมหรือปรึกษาแพทย์หากมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังก่อนจะสายเกินไปจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงานได้

อาการของโรคนอนไม่หลับ อาการของโรคนอนไม่หลับพบได้หลายรูปแบบ เช่น มีอาการนอนไม่หลับ นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับไม่สนิท นอนหลับยาก ใช้เวลานอนมากกว่า 20 นาทีถึงจะหลับได้ หลับแล้วตื่นบ่อย ตื่นกลางดึก ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน เป็นต้น

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้ หลายประเภทตามเกณฑ์ต่าง ๆ แต่หากแบ่งตามลักษณะช่วงเวลาของการนอนไม่หลับ จะแบ่งได้ดังนี้

  • หลับยาก (Initial Insomnia) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนหลับยาก ต้องใช้เวลานอนนานกว่าจะเริ่มหลับ โดยภาวะดังกล่าวนี้อาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล
  • หลับแล้วตื่นและไม่สามารถหลับตามที่ร่างกายต้องการได้อีก (Maintenance Insomnia) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับได้ยาว มีการตื่นกลางดึกบ่อย ภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น
  • ตื่นเร็วและหลับต่อไม่ได้ (Terminal Insomnia) คือ อยากนอน แต่นอนไม่หลับ ภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น อาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า

ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการนอนไม่หลับหลายรูปแบบผสมกันได้ สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป แสงสว่างมากเกินไป เสียงรบกวนจากภายนอก การนอนต่างที่ที่ส่งผลทำให้นอนหลับยาก
  • ปัจจัยด้านร่างกายหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) โรคกรดไหลย้อน มีอาการปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัว โรคเกี่ยวกับการนอนหลับ อาการไอ ฯลฯ
  • ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ความเครียด อาการวิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ การได้รับแรงกดดัน มีอาการซึมเศร้า ท้อแท้ หมดกำลังใจ
  • ปัจจัยที่เกิดจากพฤติกรรม เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคคาเฟอีน การใช้ยาบางชนิดที่ทำให้นอนหลับยาก ท้องว่าง ทำให้เกิดหิวขึ้นมาในช่วงดึก หรืออิ่มมากเกินไป ทำให้มีอาการแน่นท้องกลางดึก จนนอนไม่หลับ อุปนิสัยการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น การเล่นเกมหรือโทรศัพท์มือถือก่อนนอน รวมไปถึงหน้าที่การงานบางประเภทที่ต้องมีการเข้ากะ ทำให้ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนบ่อย ๆ

ผลเสียที่เกิดจากโรคนอนไม่หลับ อยากนอน แต่นอนไม่หลับ

หลายคนอาจคิดว่า อยากนอน แต่นอนไม่หลับ โรคนอนไม่หลับ เป็นโรคที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว และทำให้อ่อนเพลียเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วโรคนอนไม่หลับสามารถส่งผลด้าน เสียทั้งต่อสุขภาพจิต และสุขภาพกาย ดังนี้

  • เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิด
  • ระบบความจำและการเรียนรู้เสื่อมถอย
  • สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม เป็นโรคอ้วน
  • สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ขาดสมาธิ
  • มีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด กระสับกระส่าย ก้าวร้าว
  • เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคสมองเสื่อม อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
  • หลับใน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติ งานหรือขับขี่ยานพาหนะ

วิธีรักษาโรคนอนไม่หลับ นอนไม่ค่อยหลับ นอนไม่หลับ ทำไงดี? ในการรักษาโรคนอนไม่หลับจะใช้แนวทางการรักษา 2 วิธี ได้แก่ การดูแลรักษาโดยแพทย์หรือการใช้ยา และการดูแลรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา

  • การรักษาโดยแพทย์หรือการใช้ยา

การรักษาโรคนอนไม่หลับ โดยวิธีทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็น WBET69 การรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งเป็นยานอนหลับที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ภายในร่างกาย มีบทบาทช่วยให้เกิดการนอนหลับ หรือยารักษาอาการทางจิตที่ช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท และการบำบัดรักษาทางการแพทย์ ซึ่งเป็นการรักษาเพื่อให้เกิดภาวะผ่อนคลายร่วมกับการใช้วิธีทำให้นอนหลับ เช่น ดนตรีบำบัด วารีบำบัด การบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม

  • การดูแลรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา

แนวทางนี้ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และสุขลักษณะการนอนที่มีผล ต่อการนอนไม่หลับ เช่น อุณหภูมิ แสงสว่าง เสียงรบกวน เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้วิธีทำให้นอนหลับ เช่น การทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายก่อนนอน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดความเครียดหรือทำให้รู้สึกตื่นตัว เช่น การเล่นเกม การเล่นโทรศัพท์มือถือ การงีบหลับในตอนกลางวัน งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการนอน ฝึกเข้านอนให้เป็นเวลา เป็นต้น

ในกรณีที่ผู้ป่วยนอนไม่ค่อยหลับ หรือนอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลามากกว่า 1-3 เดือน จนเริ่มส่งผลต่ออารมณ์ สมาธิ ความจำ เกิดภาวะเครียด กดดัน รู้สึกเป็นกังวล รบกวนจิตใจ มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และประสิทธิภาพในการทำงาน ในกรณีนี้ผู้ป่วยควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้เกิดความกังวลใจ จนเกิดอาการนอนไม่ค่อยหลับ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Search

Popular Posts

Tags

Japchae (1) Quokka (ควอกก้า) (1) คล้ายกับจิงโจ้ (1) คุณประโยชน์ (4) จับแช (1) จีนอนุมัติ วีซ่า-ฟรี (1) ตารางเที่ยวทะเล 2566 (1) ต้นเฉาก๊วย (1) ทะเลหน้าฝน 2566 (1) นอนไม่หลับ (1) นักท่องเที่ยวไทย (1) บราวนี่ (1) บราวนี่หนึบ (1) ปฏิทินเที่ยวทะเล 2567 (1) ผักและผลไม้ (4) ผัดวุ้นเส้นเกาหลีเผ็ด (1) ฟรีวีซ่าถาวร (1) ฟัดจ์บราวนี่ (1) มีกระเป๋าหน้าท้อง (1) ยกเว้นการขอวีซ่า (1) วิธีทำ จับแช (1) วิธีทำ บราวนี่หนึบ (1) วิธีทำ เฉาก๊วย (1) วุ้นเส้นเกาหลี (1) สัตว์กินพืช (1) สารอาหาร (3) สุขภาพ (7) สุขภาพจิต (1) ห้องลับ ไมเคิลแองเจโล (1) อาชีพเสริมชาวหอ (1) อาหาร (3) เจโล (1) เจ้าชายคมเข้มแห่งบรูไน (1) เจ้าชายอับดุล (1) เจ้าชายอับดุล มาทีน (1) เที่ยวทะเลหน้าฝน pantip (1) เมดิชี (1) เลสเตอร์ซิตี้ (1) แอปเปิ้ลไซเดอร์ (1) ไข่ลวก (1) ไข่ลวก กินดีไหม (1) ไข่ลวกต้มกี่นาที (1) ไข่ลวก ประโยชน์ (1) ไข่ลวก แคล (1) 잡채 (1)